วิทย์ฯ

   เอนไซม์ตัดจำเพาะ
               เอนไซม์ตัดจำเพาะค้นพบเป็นครั้งแรกโดย แฮมิลตัน สมิธ (Hamilton Smith) และคณะแห่งสถาบันแพทยศาสตร์จอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2513 และต่อมาได้มีการค้นพบเอนไซม์ที่มีลักษณะเช่นนี้ แต่ตัดจำเพาะในตำแห่งลำดับเบสต่างออกไป จนถึงปัจจุบันนี้มีการค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะมากกว่า 1,200 ชนิด ดังตัวอย่างในตารางที่ 18.1
-  เอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดมีลำดับเบสจำเพาะเท่ากันหรือไม่
                     -  ลำดับเบสจำเพาะของเอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิด มีลักษณะร่วมกันอย่างไร
                จากตารางเห็นว่าเอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดมีบริเวณลำดับเบสจำเพาะ และจุดตัดจำเพาะที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เอนไซม์ Eco RI จะมีลำดับเบสจำเพาะในการตัดจำนวน 6 คู่เบส ในขณะที่ HaeIII จะใช้เพียง 4 คู่เบส จุดตัดจำเพาะที่เกิดขึ้น จะได้สาย DNA หลังจากถูกตัดแล้วใน 2 รูปแบบ เช่น กรณีของการตัดด้วยเอนไซม์ Eco RI จุดตัดจำเพาะจะอยู่ระหว่างเบส G และ A ซึ่งหลังจากการตัดจะทำให้ได้ปลายสายเดี่ยวทั้ง 2 ปลาย ที่รอยตัดของสาย DNA ซึ่งมีนิวคลีโอไทด์สายเดี่ยวยื่นออกมา เรียกปลายสาย DNA ที่เกิดขึ้น เช่นนี้ว่า  ปลายเหนียว  (sticky end) แต่ในกรณีของ HaeIII จุดตัดจำเพาะอยู่ระหว่างเบส G และ C (ดังตาราง) เมื่อตัดแล้วจะไม่เกิดปลายสาย DNA ทั้งสองเส้นอยู่ตรงกันพอดี ปลายรอยตัด DNA เช่นนี้ เรียกว่า ปลายทู่ (blunt end)
       แม้ว่าการตัดจำเพาะของเอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดแตกต่างกัน แต่หากนักเรียนสังเกต จะพบว่ามีลักษณะร่วมกัน คือ การเรียงลำดับเบส ในบริเวณดังกล่าวในทิศทางจาก 5' ไปสู่ 3' จะเหมือนกันทั้งสองสายของสาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รีวิวร้านอบไออุ่น พิซซ่าเตาถ่าน

เคล็ดลับขจัดความเครียดฉบับผู้เขียนบล็อค!